โรคเบาหวาน

...
โรคเบาหวานคืออะไร?

“โรคเบาหวานคือโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ”

น้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ จึงจะปกติ

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ คือ น้อยกว่า 100 มก./ดล. การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้ 2 วิธี

1. เจาะเลือดกรวดน้ำตาลหลังงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง ถ้ามีค่ามากกว่า 126 มก./ดล.จะถือว่าเป็น “เบาหวาน” แต่ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. เรียกว่า “เริ่มผิดปกติ”
    2. ให้กินกลูโคสและเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลภายหลัง 2 ชั่วโมง คนปกติระดับน้ำตาลต้องน้อยกว่า 140 มก./ดล. ถ้าเป็นเบาหวานระดับน้ำตาลมากกว่า 200 มก./ดล. ถ้าอยู่ระหว่าง 140 – 199 มก./ดล.ถือว่าเริ่มผิดปกติ

อาการ/สาเหตุ ของโรค

“ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและการใช้อาหารแลกเปลี่ยน เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ”

  • - กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลดลง
  • - ปัสสาวะบ่อยและอาจพบว่ามีมดตอมปัสสาวะและโถส้วม
  • - หิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • - รู้สึกชาปลายมือปลายเท้า แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า
  • - คันตามผิวหนัง
  • - หย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยเฉพาะผู้ชาย
  • - เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว
การวินิจฉัย รู้ทันอาการโรค

“ ถ้าไม่ดูแลตนเอง จะเป็นอย่างไร ”

  • - อวัยวะเพศ : เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • - สมอง : เกิดการสมองเสื่อม เส้นเลือดในสมองตีบตัน เวียนหัว อาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • - หัวใจและหลอดเลือด : หลอดเลือดตีบแข็ง ความดันโลหิตสูง เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีเกิดภาวะหัวใจวาย
  • - ตา : ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาแลจอประสาทตาเสื่อม ทำให้ตาพร้ามัว อาจทำให้ตาบอดได้
  • - ไต : เกิดภาวะไตวาย นำไปสู่การคั่งของสารพิษในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง ซีด อาจถึงตาย
  • - ระบบประสาท : มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ทำให้เป็นแผลได้ง่าย โดยเฉพาะเท้า
  • - ภูมิต้านทานโรคต่ำ : ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น กลาก เกลื้อน เชื้อราที่เล็บและที่อับชื้น ฝี หนอง หากติดเชื้อในกระแสเลือดอาจถึงตาย
  • - ภาวะคีโตสีส : พบในรายที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ ทำให้มีการคั่งของาสารคีโตนปัสสาวะบ่อย ทำให้กระหายน้ำ ความดันโลหิตต่ำและอาจหมดสติได้
การรักษาโรค / การป้องกันโรค

“ ทำสิ่งเหล่านี้แล้วจะคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ”

  • - ดูแลเรื่องอาหาร
    • 1. รับประทานข้าวแป้ง ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังได้ตามปกติ ไม่ต้องลดลงมาก นอกจากผู้ที่อ้วนให้ลดลงครึ่งหนึ่ง
      2. รับประทานผลไม้ 2-3 ส่วนต่อวันแทนขนม (1 ส่วนของผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล ส้มเขียวหวาน 2 ผล มะละกอ สับปะรด แตงโม 6-8 ชิ้นคำ มะม่วง ฝรั่ง กล้วยหอม ½ ผล เงาะ ชมพู่ 4 ผล เป็นต้น)
      3. รับประทานผัก ปลา ให้มากขึ้นทุกมื้อ
      4. รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง
      5. ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าวในการทอด ผัดแต่พอควร
      6. เลือกดื่มนมไม่มีไขมัน นมพร่องมันเนย โยเกิร์ตรสธรรมชาติ แทนนมปรุงแต่งรส
      7. หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ช็อคโกแลตและขนมหวานต่างๆ
      8. รับประทานอาหารรสเค็มน้อย
      9. เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัดที่ใช้น้ำมันน้อยแทนการทอด
      10. บริโภคปลา 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่า เพื่อให้ได้โอเมก้า 3
      11. รับประทานอาหารรสเค็มน้อย
      12. ใช้น้ำตาลเทียมใส่เครื่องดื่มแทนการใช้น้ำตาลทราย
      13. เลิกบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
      14. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • - ดูแลเรื่องออกกำลังกาย
    • ออกกำลังกายตามความสามารถ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง
  • - ดูแลเรื่องอารมณ์
    • ต้องมุ่งมั่น จริงจัง อดกลั้น อดทน กับนโยบายการเปลี่ยนแปลงตนเองและอย่าลืมทำจิตใจให้สบายและพักผ่อนให้เพียงพอ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

“ ปรึกษาแพทย์ หรือติดต่อผ่านเบอร์ 073223600-4 พูดคุยกับแอดมิน "โอลด์โรส" คลิก m.me/siroroshospital

แพ็กเกจและโปรโมชั่น
Amanda Shah

Wellness Classic

Amanda Shah

Deluxe Program

Amanda Shah

Wellness Grand Superior

Amanda Shah

สุขภาพชาย

Amanda Shah

Wellness Executive

Amanda Shah

Wellness Superior

Amanda Shah

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี

Amanda Shah

โปรแกรมรักษ์หัวใจ

Amanda Shah

แพ็กเกจตรวจสุขภาพวางแผนก่อนมีบุตร

Amanda Shah

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคุณผู้หญิงยุคใหม่

แหล่งอ้างอิง : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก. โรคเบาหวานสู้ได้...หากเข้าใจ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลตนเองเบื้องต้นเรื่องเบาหวาน.

สงวนลิขสิทธิ์ © 2022. โรงพยาบาลสิโรรส